รู้ก่อนใช้! ทำไมถึงต้องใช้ กระปุกพลาสติก ในการเก็บยา

2197 จำนวนผู้เข้าชม  | 

รู้ก่อนใช้! ทำไมถึงต้องใช้ กระปุกพลาสติก ในการเก็บยา

ทำไมถึงนิยมใช้ กระปุกพลาสติก ในการเก็บยา? 

ยาสามัญประจำบ้าน หรือ อาหารเสริม วิตามินเสริม เป็นไอเทมสำคัญที่แทบทุกบ้านต้องมีเก็บไว้ เพราะนอกจากจะสามารถรักษาอาการป่วยเบื้องต้นยามฉุกเฉินได้แล้ว ยังเป็นตัวช่วยสำคัญที่ช่วยเสริมสุขภาพและภูมิต้านทานในตัว เพราะโรคภัยเป็นสิ่งที่ไม่สามารถคาดเดาได้ โดยเฉพาะบ้านไหนที่มีเด็กเล็กๆ หรือคนสูงอายุเป็นสมาชิกในครอบครัว การมียาสามัญประจำบ้านจึงเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลยเป็นอย่างยิ่ง

ในอดีต ภาชนะสำหรับการจัดเก็บยาสามัญประจำบ้านมักทำมาจากแก้ว เป็นลักษณะกระปุกแก้ว แต่ด้วยต้นทุนที่ค่อนข้างสูงในการขึ้นรูป รวมถึงการจัดเก็บและการขนส่งที่ต้องใช้เงินมากกว่าภาชนะรูปแบบอื่น ทำให้ปัจจุบัน กระปุกพลาสติกได้รับความนิยมมากกว่ากระปุกแก้ว เพราะนอกจากความแข็งแรง คนทนแล้ว ยังสามารถช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการผลิต แถมยังสามารถรักษาคุณภาพยาได้ดีไม่แพ้กัน แต่ยาบางประเภทก็ยังต้องใช้กระปุกแก้วอยู่ โดยเฉพาะยาที่ต้องรักษาคุณภาพของสินค้า อุณหภูมิ ความชื้น และยาบางชนิดที่ยังต้องใช้แก้วอบความร้อนฆ่าเชื้อ เป็นต้น

 

กระปุกพลาสติก และภาชนะเก็บยาที่ถูกต้องตามตำรายา

ภาชนะปิดสนิท (Well-closed)

ภาชนะปิดสนิท คือ ภาชนะที่ป้องกันของเหลวและ ของแข็งจากภายนอกเข้ามาปนเปื้อนตัวยา สามารถป้องกันการสูญหายของตัวยาระหว่างการใช้งาน หรือที่ระหว่างการควบคุม ขนส่ง จัดเก็บ และแจกจ่าย ตัวอย่างของภาชะบรรจุประเภทนี้ ได้แก่ กระปุกพลาสติกแบบมีฝาปิดเป็นเกลียว ซองซิปล็อค ตลับแบ่งยาแบบเป็นช่องๆ และมีฝาปิด เป็นต้น

ภาชนะปิดแน่น (Tight)

ภาชนะปิดแน่น คือ ภาชนะที่ป้องกันของเหลว ของแข็ง หรือไอระเหยจากภายนอกเข้ามาปนเปื้อนตัวยา สามารถป้องกันการสูญหายของตัวยา ป้องกันการเกิดเป็นผลึก การเยิ้มเหลว หรือการระเหย ระหว่างการใช้งาน หรือระหว่างการควบคุม ขนส่ง จัดเก็บ และแจกจ่าย ตัวอย่างของภาชะประเภทนี้ได้แก่ กระปุกพลาสติกชนิดฝาปิดสนิท กระปุกยาชนิดฝาล๊อค หรือกระปุกยาที่มีขอบซีลยาง เป็นต้น ต้องสังเกตลักษณะกายภาพของยาที่รับประทาน หากพบว่าเม็ดยามีลักษณะที่ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยทาน ควรงดทานยาดังกล่าวและปรึกษาเภสัชกรก่อนกระทำการใดๆ

 

ภาชนะกันแสง (Light-resistant)

ภาชนะกันแสง คือ ภาชนะที่ป้องกันผลจากแสงที่สามารถเกิดกับตัวยาสำคัญได้ โดยภาชนะดังกล่าวอาจจะมีความสามารถป้องกันแสงได้ด้วยคุณสมบัติของตัวเอง หรือจากการเคลือบป้องกันแสงไว้บนผิววัตถุของภาชนะสำหรับจัดเก็บยา ในกรณีภาชนะที่ใส ไม่มีสี หรือภาชนะที่โปร่งแสง สามารถป้องกันแสงได้ด้วยการเคลือบภาชนะให้ทึบแสง หรือจากการใช้บรรจุภัณฑ์ เช่น กล่องบรรจุ หีบ ห่อ ในการปกป้องภาชนะอีกชั้น เป็นต้น ซึ่งบนภาชนะดังกล่าวจะต้องมีการระบุแจ้งเก็บให้พ้นแสงแดด (ภายใต้ภาชนะเคลือบทึบแสงหรือบรรจุภัณฑ์) จนกว่าจะมีการใช้ ตัวอย่างของภาชะบรรจุประเภทนี้ ได้แก่ กระปุกยาพลาสติกทึบแสง ซองยาซิปล๊อคสีชา กระปุกยาชนิดแก้วสีชา (amber bottle) ตลับยาชนิดทึบแสง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า กระปุกพลาสติก เป็นภาชนะที่เหมาะสมกับการจัดเก็บยาหรืออาหารเสริมทางการแพทย์แทบทุกรูปแบบ เพราะเป็นภาชนะที่มีลักษณะทึบแสง สามารถป้องกันแสงแดดเข้าไปทำลายคุณภาพของยาได้อย่างมีประสิทธิภาพ แถมยังมีเกลียวฝาปิดที่มิดชิด ป้องกันของเหลว การปนเปื้อน หรือหลุดรอดของอากาศและสิ่งสกปรกเข้าไปสร้างความเสียหายให้ตัวยา จึงไม่น่าสงสัยเลยว่า ทำไม? กระปุกพลาสติกถึงกลายเป็นภาชนะยอดนิยมในวงการแพทย์และอาหารเสริมทางการแพทย์ ในปัจจุบัน


วิธีเก็บรักษายาให้ยังคงคุณภาพ หลังเปิดใช้งาน

นอกจากเรื่องภาชนะสำหรับบรรจุยาแล้ว การเก็บรักษายาหลังเปิดใช้งานอย่างถูกวิธี ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่ต้องคำนึงถึง เพื่อรักษาคุณภาพของตัวยาให้สมบูรณ์ที่สุด และยืดอายุการใช้งาน ให้สามารถใช้ได้นาน และนำมาทานเพื่อรักษาโรคได้ทันท่วงที โดยไม่ต้องหาซื้อใหม่บ่อยๆ

วิธีเก็บรักษายามีอะไรบ้าง? ตามมาดูกันเลย

ไม่ควรแกะยาที่บรรจุในแผงหรือแบ่งออกจากภาชนะ เช่น กระปุกยาหรือขวดยาที่ทางผู้ผลิตได้บรรจุมาไว้แต่แรก เพราะประเภทบรรจุภัณฑ์เริ่มแรกนั้นจะได้ตามมาตรฐานที่ตำรายาระบุไว้ หากมีความจำเป็นต้องเปลี่ยนควรเลือกบรรจุภัณฑ์ที่มีลักษณะคล้ายกัน หรือปรึกษาเภสัชกร
 
หากมีความจำเป็นที่ต้องแกะยาออกจากแผงหรือ แบ่งออกจากกระปุกใหญ่

  • ในกรณีที่เป็นแผงยา อาจจะทำการตัดแบ่งแผงยาออกเป็นขนาดย่อยๆ และบรรจุลงในกล่อง  ซอง หรือตลับยาที่จัดเตรียมไว้ โดยขอบแผงยาที่ตัดแล้วจะต้องไม่มีส่วนใดฉีกขาดหรือมีรูรั่วทะลุถึงส่วนในที่บรรจุยาเม็ดในแผง

  • ในกรณีแบ่งยาออกจากกระปุกใหญ่หรือแกะยาออกจากแผงลงในภาชนะบรรจุใหม่ ให้เลือกพิจารณาภาชนะที่ปิดแน่น (Tight) ในการจัดเก็บเป็นลำดับแรก และควรมีคุณสมบัติที่กันแสงได้ หากไม่มีและ จำเป็นต้องแบ่งยาลงในภาชนะบรรจุประเภทปิดสนิท เช่น ซองยา กล่องยาหรือตลับยา จะต้องปิดภาชนะให้สนิทเสมอ และไม่ควรแบ่งยาเพื่อรับประทานเกิน 1 อาทิตย์(ระยะเวลาอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ตามความคงตัวของตัวยา)

ต้องสังเกตลักษณะกายภาพของยาที่รับประทาน หากพบว่าเม็ดยามีลักษณะที่ผิดปกติหรือเปลี่ยนไปจากเดิมที่เคยทาน ควรงดทานยาดังกล่าวและ ปรึกษาเภสัชกร

ยา ยาสามัญประจำบ้าน และอาหารเสริม เป็นสิ่งที่สามารถช่วยรักษาโรคภัยไข้เจ็บ รวมถึงการบำรุงดูแลสุขภาพของผู้ที่รับตัวยานั้นเข้าไป แต่หากยาเหล่านั้นอยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ไม่ได้มาตรฐาน รวมถึงการเก็บรักษาที่ไม่ถูกวิธี จากประโยชน์ที่ควรได้รับจากยา ก็อาจกลายเป็นโทษที่บ่อนทำลายสุขภาพของคุณ จากคุณภาพยาที่ไม่ได้มาตรฐาน และปนเปื้อนจากสิ่งแปลกปลอมภายนอก นั่นจึงเป็นสาเหตุที่ว่า ทำไม? เราถึงต้องเลือกใช้บรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ในการจัดเก็บยาและอาหารเสริมนั่นเอง

ขอบคุณข้อมูลดีๆ จาก :
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/194/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%96%E0%B8%B9%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%95%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B8%B3%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2%E0%B8%B2/ 
 
https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/193/%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B9%87%E0%B8%9A%E0%B8%A2%E0%B8%B2-%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AA%E0%B8%A1%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%88%E0%B8%B3%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99/ 

สินค้าที่เกี่ยวข้อง : กระปุกพลาสติก

 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้